สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง วิชาเอกการแสดงโทรทัศน์และภาพยนตร์ ระดับปริญญาตรี

  1. ชื่อหลักสูตร

    ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts

  2. ชื่อปริญญา

    ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีและศิลปะการแสดง) ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts in Music and Performing Arts อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ศป.บ.(ดนตรีและศิลปะการแสดง) อักษรย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Music and Performing Arts)

  3. กลุ่มวิชาศิลปะการแสดง

    • แขนงวิชาเอกเลือก การแสดงโทรทัศน์และภาพยนตร์ (Acting for Television and Film)
  4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 128 หน่วยกิต

    แบ่งออกเป็น หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 33 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะสาขา 89 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

  5. จุดมุ่งหมาย

    มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ความสามารถด้านศิลปะการแสดงอย่างรอบด้าน เพื่อพร้อมที่ จะก้าวไปเป็นบุคลากรในวงการการแสดงที่มีคุณภาพและสามารถบริหารจัดการตนเองได้ ผู้เรียนจะได้เรียนเพื่อพัฒนาความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญในสาขาที่ตนเลือก โดยผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะการแสดง การเข้าถึงตัวละคร (Building Character) ในการแสดงหลากหลายรูปแบบ ทั้งการแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์ มิวสิค วิดีโอ โฆษณา งานอีเวนท์ ละครเวที ละครผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท และละครเพลง ได้เสริมทักษะการร้องเพลง การเต้น การออกแบบท่าเต้น เพื่อเติบโตในสายของศิลปินนักแสดงภาพยนตร์และโทรทัศน์และศิลปินละครเพลงที่ กำลังได้รับความนิยมในขณะนี้ นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถเติบโตในสายของการเป็น Acting Coach และครูสอนการแสดงได้อีกด้วย ซึ่งนับเป็นสาขาวิชาที่เปิดสอนรายวิชาการแสดงจำนวนมากที่สุดและครอบคลุมศาสตร์ของการแสดงมากที่สุดในประเทศ และเป็นสาขาการแสดง สาขาแรกของประเทศที่เสริมทักษะ และความเชี่ยวชาญ ด้านการสอนการแสด ง เพื่อตอบรับกับความต้องการของสายอาชีพนี้ ในระดับนานาชาติอีกด้วย นอกจากนี้ผู้เรียนจะได้พัฒนาทักษะอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างอาชีพให้กับตนเองในฐานะศิลปินที่สามารถบริหารจัดการอาชีพตนเองได้ อาทิ การเรียนรู้ธุรกิจการแสดงทั้งระดับประเทศและนานาชาติ หลักการบริหารจัดการการแสดง การสร้างโครงงานศิลปะการแสดง การสัมมนาวงการบันเทิง การเรียนรู้กฎหมายของธุรกิจบันเทิง การตัดต่อเสียง ภาพเคลื่อนไหว และองค์ประกอบศิลป์ ประกอบการแสดง การประชาสัมพันธ์ การเขียนบท การกำกับการแสดง การเป็นพิธีกร การพฒันาและออกแบบภาพลักษณ์ของศิลปินที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองได้ ซึ่งนับเป็นสาขาวิชาแรกของประเทศที่มีการเสริมความรู้และทักษะด้านศิลปะการแสดงอย่างครบวงจรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้สามารถเป็นศิลปินที่มีความสามารถอย่างรอบด้านรู้เท่าทัน และสร้างอาชีพให้ตนเองได้ อีกทั้งผู้เรียนยังได้เตรียมตนเองให้พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผู้เรียนรู้จะได้เรียนวิชาเกี่ยวกับเศรษฐกิจนานาชาติ เรียนภาษาอังกฤษ และเลือกเรียนภาษาต่างประเทศที่สอง อาทิ ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น จีน มาเลเซีย พม่า อินโดนีเซี ย และได้ฝึกงานในวงการบันเทิงในปีสุดท้ายยก่อนจบการศึกษาด้วย

  6. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    การแสดงภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ มิวสิควิดีโอ โฆษณา งานอีเว้นท์ ละครเวที ละครผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท และละครเพลง นักแสดงละครเพลง นักเต้น นักการออกแบบท่าเเต้น ศิลปินนักร้อง ครูสอนการแสดง นักธุรกิจการแสดง

  7. ตัวอย่างรายชื่อวิชาบางส่วน

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง ระดับปริญญาตรี 4 ปี

    • ประวัติศาสตร์ศิลปะการแสดง
    • ธุรกิจบันเทิง
    • ธุรกิจบันทิงนานาชาติ
    • กฎหมายธุรกิจบันเทิง
    • สัมมนาวงการบันเทิง
    • โครงงานศิลปิน
    • การประชาสัมพันธ์เพื่อการแสดง
    • การศึกษาศิลปะการแสดง
    • การศึกษาตัวละคร
    • การแสดงภาพยนตร์
    • การแสดงละครโทรทัศน์
    • การแสดงละครเวที
    • การพูดและการเป็ นพิธีกร
    • การแสดงมิวสิควิดีโอและโฆษณา
    • การเขียนบท
    • การออกแบบองค์ประกอบศิลป์ เพื่อการแสดง
    • กระบวนการผลิตงานด้านการแสดง
    • การแสดงผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท
    • การกำกับการแสดง
    • กำกับเวทีและธุรกิจกองถ่าย
    • การคัดเลือกนักแสดง
    • การออกแบบท่าเต้น
    • การขับร้องและการเต้นเพื่อการแสดงละครเพลง
  8. คุณสมบัติของผู้สมัครสอบเข้าศึกษา

    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง เอกการแสดงโทรทัศน์และภาพยนตร์ ระดับปริญญาตรี 4 ปี รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่สามารถใช้ภาษาไทยได้เป็นอย่างดี

    • สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีสุดท้าย หรือเทียบเท่า และคาดว่าจะสำเร็จการศึกษา
    • มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.00
    • มีความสามารถในการแสดง
    • มีความประพฤติดี ไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาด้านศิลปะการแสดง