สาขาดนตรีและศิลปะการแสดง
ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
คณะ/ภาควิชา วิทยาลัยดนตรีและศิลปะการแสดง SCA
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Music and Performing Arts
ชื่อปริญญา
ภาษาไทย : ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ดนตรีและศิลปะการแสดง)
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Fine and Applied Arts (Music and Performing Arts)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาไทย) : ศป.บ.(ดนตรีและศิลปะการแสดง)
อักษรย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) : B.F.A. (Music and Performing Arts)
วิชาเอก สาขาวิชาดนตรีและศิลปะการแสดง
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร 127 หน่วยกิต
รูปแบบหลักสูตร ระดับปริญญาตรี 4 ปี
ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ
ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ/ภาษาจีน
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
ศิลปินดนตรี ศิลปินขับร้อง นักธุรกิจดนตรี ผู้กำกับการแสดงดนตรี นักประพันธ์ดนตรี นักเรียบเรียงดนตรี
ผู้ควบคุมห้องบันทึกเสียง ผู้ควบคุมการผสมเสียง ผู้จัดทำมาสเตอร์ริง ผู้จัดการด้านดนตรี ผู้สอนดนตรี และนักวิชาการดนตรี
ผู้จัดการด้านการแสดง นักแสดง ผู้ผลิตงานแสดง ผู้สอนการแสดง นักแสดงเต้น ผู้สอนการเต้น นักออกแบบท่าเต้น ศิลปินร้องเต้น ผู้จัดการด้านการตลาด ผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิง และอาชีพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปรัชญา
เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทักษะด้านดนตรีและศิลปะการแสดง ควบคู่การปฏิบัติวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณ
ความสำคัญ
ดนตรีและศิลปะการแสดง มีส่วนในการส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ รวมถึงด้านความคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงพัฒนาการทางปัญญาของมนุษย์ การให้การศึกษาด้านดนตรีและศิลปะการแสดง จึงเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนามนุษย์และสังคม
ในปัจจุบันวงการธุรกิจดนตรีและธุรกิจศิลปะการแสดง ได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ดังนั้นการพัฒนาการศึกษาทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดงของประเทศไทย จึงมีความจำเป็นต้องมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ความสามารถ ครอบคลุมทักษะทั้ง 2 ด้าน คือ ทักษะดนตรีและทักษะศิลปะการแสดง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในอุตสาหกรรมบันเทิง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านการแสดงดนตรีและศิลปะการแสดง และเผยแพร่ผลงานให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
2) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณธรรมและจริยธรรม และมีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดง
3) เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ด้านธุรกิจบันเทิงสามารถนำไปบูรณาการในการประกอบอาชีพด้านการแสดงดนตรีและศิลปะการแสดง
โครงสร้างและรายวิชาในหลักสูตร SCA ปรับปรุง 62 (PDF)
โครงสร้างและรายวิชาในหลักสูตร SCA 67 (PDF)